สวัสดีครับเพื่อนๆวันนี้นะครับก็จะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานอะไรนะครับ หรือว่าเว็บไซต์ทั่วไปก็ตาม หลังจากที่เป็นเพื่อนๆนะครับได้เข้าไปดูข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์ก็จะพบว่าเราต้องพิมพ์ชื่อโดเมนเนม หรือค้นหาใน Google วันนี้นะครับเราจะมาทำความเข้าใจกับการทำงานเบื้องหลังว่าเว็บไซต์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันมีการทำงานยังไงบ้าง
องค์ประกอบของเว็บไซต์หลักๆจะมีอยู่ 2 อย่างนะครับ
- domain name ถ้าจะแปลให้ตรงตัวหรือบอกความหมายง่ายๆคือชื่อของเว็บไซต์โดยชื่อของเว็บไซต์ปกติจะเป็นภาษาอังกฤษนะครับปัจจุบันมีการดัดแปลงปรับปรุงให้มีชื่อเป็นภาษาไทยแต่การเข้าสู่เว็บไซต์หรือการถอดรหัสของภาษายังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรตัวอย่างชื่อโดเมนเนมนะครับก็อย่างเช่น google.co.th ตัวนี้เราจะเรียกว่าชื่อ Domain Name นะครับ แต่ถ้าเป็นหน่วยงานราชการก็จะมีชื่อโดเมนเนมเป็นดอท go.th ซึ่งเราสามารถจดทะเบียนโดเมนเนมโดยใช้แบบฟอร์มซึ่งโดเมนเนมประเภทนี้บุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานทั่วไปจะไม่สามารถใช้งานได้นอกจากหน่วยงานราชการเท่านั้น
- hosting หรือพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ถ้าจะอธิบายอย่างง่ายๆตัวนี้ก็จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์หรือ Flash Drive ตัวหนึ่งแต่จะทำงานออนไลน์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเว็บไซต์ได้ครับผม โดยในปัจจุบัน hosting มีให้บริการอยู่หลายที่ เราสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสมซึ่งราคาก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการจัดเก็บและประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล โดย hosting ที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีการสำรองข้อมูล ไว้หลายที่ซึ่งทำให้ข้อมูลของเรามีความปลอดภัยเมื่อมีความเสียหายนะครับ
หลังจากที่เรามีองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้เราก็พร้อมที่จะมีเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว ส่วนเว็บไซต์นั้นเราสามารถออกแบบเองหรือจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญหรือบุคคลที่มีความชำนาญในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ภาษาที่ใช้แสดงผลข้อมูลเว็บไซต์ในปัจจุบันนะครับก็จะมีอยู่หลายภาษาแต่ภาษาหลักๆนั่นก็คือภาษา html โดยโครงสร้างของภาษาจะเป็นมาตรฐานเดียวกันนะครับ Web Browser จะสามารถอ่านโครงสร้างของภาษานี้เข้าใจโดยจะแสดงเป็นข้อความรูปภาพวีดีโอที่เราได้เห็นกันอยู่ในเว็บไซต์ทั่วๆไปครับผม
ถ้าจะแบ่งเว็บไซต์ออกเป็นรูปแบบใหญ่ๆสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบนะครับ
- เว็บไซต์ที่สามารถแก้ไขข้อมูลผ่านหน้าเว็บได้หรือเราจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า web Application ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยระบบที่นิยมนำมาใช้กันจะเป็น CMS โดยสามารถใช้งานได้ฟรีแต่ผู้ใช้งานต้องมีความรู้พื้นฐานในการใช้งานระบบอย่างเช่นจูมลา wordpress หรือระบบอื่น
- เว็บไซต์ที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลผ่านหน้าเว็บได้ เว็บไซต์ประเภทนี้ก็จะเหมือนกับเราพิมพ์เอกสารทั่วๆไปนะครับเวลาจะแก้ไขเราต้องดาวน์โหลดจากเว็บไซต์หรือใช้ไฟล์ต้นฉบับแก้ไขแล้วอัพโหลดขึ้นที่ web Server อีกทีซึ่งจะมีขั้นตอนยุ่งยาก
สำหรับวันนี้ก็ขออธิบายข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของเว็บไซต์ไว้เบื้องต้นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับหน่วยงานใดนะครับที่ต้องการทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสอบถามข้อมูลจากเราได้นะครับไม่ว่าจะเป็น อบต เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เรามีระบบที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของท่าน ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด